วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประธานาธิบดีที่จนที่สุดในโลก

มันเป็นเรื่องปกติที่ประชาชนมักจะบ่นกันว่า
รูปแบบการใช้ชีวิตของนักการเมือง
มักจะแตกต่างหรือแยกตัวออกไปห่างไกลมาก
จากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง  




แต่ไม่ใช่ประธานาธิบดีอุรุกวัย 
ที่ยังอาศัยอยู่ในบ้านไร่ที่ซอมซ่อและใช้จ่ายน้อยที่สุด
การซักอบรีดเสื้อผ้าทำกันที่นอกบ้าน
น้ำมาจากสระในไร่ ที่รกเรื้อไปด้วยวัชพืช  
มีเพียงเจ้าหน้าที่ตำรวจสองนายที่คอยอารักขา 
และมานู้เอหล่า  Manuela สุนัขสามขาเฝ้าบ้านอีกตัว


บ้านไร่แห่งนี้เป็นทำเนียบบ้านพักประธานาธิบดีของอุรุกวัย
โฮเซ่  หมู่ฮิก่า Jose  Mujica  
ที่มีรูปแบบการใช้ชีวิตแตกต่างกับผู้นำชาติอื่น ๆ ในโลกหลายคนอย่างเห็นได้ชัดเจน
ประธานาธิบดี Mujica  หมู่ฮิก่า ไม่ยอมใช้บ้านพักหรูหราประจำตำแหน่งประธานาธิบดี
ที่ประเทศอุรุกวัยที่จัดไว้ให้สำหรับผู้นำประเทศ  
แต่เลือกที่จะอยู่ที่บ้านพักของภรรยา  
สถานที่ตั้งอยู่บนถนนลูกรัง 
นอกเขตเมืองหลวง มอนเตวิเด Montevideo
 
 
 
ทั้งประธานาธิบดีและภรรยาต่างทำงานบนที่ดินด้วยตนเอง  
เช่น ปลูกดอกไม้ต่าง ๆ
วิถีชีวิตเรียบง่ายแบบนี้ และความจริงที่ว่าเขาบริจาค 90%ของเงินเดือน
ทุกเดือนเพื่อการกุศล  
เงินเดือนประธานาธิบดีแต่ละเดือนเทียบเท่ากับ 12,000 ดอลลาร์สหรัฐ
(7,500£) หรือ 360,000-บาท(อัตราแลกเปลี่ยนที่ 30.-บาทต่อหนึ่งดอลล่าสหรัฐ)
หรือเขาขอรับเงินเดือนเพียงเดือนละ 36,000.-บาท  
เรื่องนี้ทำให้เขาได้รับการบันทึกว่าเป็นประธานาธิบดีที่ยากจนที่สุดในโลก
 
 
 
" ผมอาจจะเป็นคนแก่ที่แปลกประหลาด แต่นี่เป็นทางเลือกที่อิสระ 
ผมเคยใช้ชีวิตแบบนี้มามากแล้ว  ผมอยู่ได้เป็นอย่างดีกับสิ่งที่ผมมี "
เขากล่าวขณะนั่งอยู่บนเก้าอี้ตัวเก่าในสวน 
โดยรองนั่งด้วยเบาะชิ้นโปรดของสุนัข  Manuela มานู้เอหล่า
 
การบริจาคเงินเดือนเพื่อการกุศลของเขา
เป็นประโยชน์ต่อคนยากจนและผู้ประกอบการขนาดเล็ก  
นั่นหมายความว่ารายรับต่อเดือนของเขา 
อยู่ในระดับเดียวกันกับรายได้เฉลี่ย/เดือนของประชาชนอุรุกวัย
อยู่ที่ $775(£485)เดือนหรือเดือนละ 23,250.-บาท
 
 
 
ความมั่งคั่งที่มีอยู่ทั้งหมดของประธานาธิบดี 
คือ รถเต่า(รถไพร่) Volkswagen รุ่นปี 1987   
ในปี 2010 เมื่อมีการประกาศบัญชีแสดงรายการ
ทรัพย์สินและหนี้สินประจำปีของพนักงานรัฐแต่ละราย  
ตามกฎหมายที่มีผลบังคับใช้กับพนักงานรัฐในอุรุกวัยทุกนาย 
ประธานาธิบดีได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน 
โดยมีทรัพย์สินมูลค่า $1,800(£ 1,100)หรือ 54,000.-บาท
นั่นคือมูลค่าราคาซื้อขายรถเต่า(รถไพร่)Volkswagen รุ่นปี 1987 
Volks=ประชาชน/ไพร่ wagen=รถยนต์ 
 


ในปีนี้เขาได้เพิ่มจำนวนครึ่งหนึ่งของสินสมรส 
(คำนวณจากสินทรัพย์ของภริยาครึ่งหนึ่ง) 
ประกอบด้วยบ้านพร้อมที่ดิน รถแทรกเตอร์
มูลค่า $215,000 (£ 135,000)หรือ 6,450,000.-บาท
ทรัพย์สินของเขาจำนวนนี้เป็นแค่สองในสามของ
รองประธานาธิบดี Danilo Astori ด่านิโล้ อัสโตหรี่
ที่บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน   
และเป็นเพียงแค่หนึ่งในสามของบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน 
ที่เปิดเผยของอดีตประธานาธิบดี Tabare Vasquez ต่าบ๊าเร วาซเกรส
 
 
 
ประธานาธิบดี Mujica หมู่ฮิก่า ได้รับเลือกตั้งในปี 2009 
หลังจากใช้เวลาช่วงปี 1960 และ 1970 
ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของนักรบกองโจรติดอาวุธฝ่ายซ้าย Tupamaros ตู๊ปาม้าโหลด  
ในประเทศอุรุกวัย ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากนักรบปฏิวัติคิวบา(เช กูวาร่า กับ ฟิเดล คาสโตร)
เขาเคยถูกยิงถึงหกครั้ง และติดคุกเป็นเวลา 14 ปี (ช่วงปี 1970-1985) 
เป็นช่วงระยะเวลาที่ยาวนานมากที่สุด 
ที่ถูกกักขังภายใต้สภาพห้องขังที่ไม่เอื้ออำนวยและการถูกขังเดี่ยว 
จนกระทั่งเขาถูกปล่อยตัวให้เป็นอิสระในปี 1985 
เมื่อประเทศอุรุกวัยเดินหน้าเข้าสู่ระบบประชาธิปไตย
 
 
ประธานาธิบดี Mujica หมู่ฮิก๊า กล่าวว่า  
" หลายปีที่ผ่านมาในคุก ได้ตกผลึกความคิดเกี่ยวกับการใช้ชีวิต
ผมถูกเรียกว่า  ประธานาธิบดีที่ยากจน แต่ผมไม่รู้สึกว่ายากจนเลย  
คนที่ยากจน คือ บรรดาคนที่ทำแต่งานเท่านั้น 
เพื่อพยายามที่จะใช้ชิวิตอย่างหรูหรา และมักจะต้องการมากขึ้นเรื่อย ๆ  " 
 
" นี่คือหลักการอิสระภาพ หากคุณไม่ได้มีทรัพย์สินมากมายแล้ว 
คุณไม่จำเป็นต้องทำงานหนักตลอดทั้งชีวิตของคุณเสมือนเป็นทาส 
เพียงเพื่อจะมีและต้องหวงแหนกับทรัพย์สินพวกนั้น 
และดังนั้นคุณจะมีเวลาว่างสำหรับชีวิตตนเองมากขึ้น "
 
" ผมอาจจะเป็นคนแก่ที่ดูประหลาด แต่นี่เป็นทางเลือกที่อิสระภาพ "


 ผู้นำอุรุกวัย ได้ย้ำประเด็นที่คล้ายกันเมื่อได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอด  Rio+20 ในเดือนมิถุนายนปีนี้ 


ขยายความที่มาของ Rio+20 ตาม link ย่อ http://goo.gl/3LN8l
 
Rio+20 คือชื่อที่เป็นที่นิยมเรียกของ “การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน
(United Nations Conference on Environment and Development- UNCED)” 
หรือ Earth Summit ซึ่งการประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่  4-6 มิถุนายน 2012 
ที่เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล โดยมีการคาดการณ์ว่าจะมีหัวหน้ารัฐบาลจากประเทศต่างๆ 
เข้าร่วมประชุมกว่า 150 ประเทศ ซึ่งการประชุม Rio+20 นี้ ถือเป็นโอกาสฉลองครบรอบ 20 ปี 
การประชุม Earth Summit ในปี 1992 ซึ่งผลจากการประชุมในครั้งดังกล่าว
ได้ก่อให้เกิดกระแสแนวความคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
จนได้รับการยอมรับต่อสาธารณชนในวงกว้าง 
 
การประชุม Rio+20 มีการกำหนดหัวข้อหลักในการประชุมไว้ 2 เรื่องคือ 
เศรษฐกิจสีเขียวในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนและการขจัดความยากจน 
(Green Economy in the Context of Sustainable Development and Poverty Eradication) 
และการปฏิรูปเชิงสถาบันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Institutional Framework for Sustainable Development)    
 
แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจสีเขียวในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนและการขจัดความยากจน
นั้นมาจากการที่ผู้คนส่วนใหญ่เริ่มตระหนักว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจและการลงทุนนั้น
กลับต้องแลกมาด้วยการสูญเสียทรัพยากรที่มีค่า และคุณภาพสิ่งแวดล้อมก็เสื่อมโทรมลง 
รวมทั้งเกิดปัญหาการกีดกันทางสังคม คนจนไม่ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาเท่าที่ควร 
 
เศรษฐกิจสีเขียวในหัวข้อนี้เน้นย้ำว่าไม่ได้พูดถึง บริบทการพัฒนาทางด้านสิ่งแวดล้อมแต่เพียงอย่างเดียว 
เพราะการจะไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้นั้นจำเป็นต้องมีการจัดการระบบเศรษฐกิจ
ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและถูกทางด้วย 
แต่สิ่งที่ทั่วโลกต่างเป็นกังวลในการก้าวไปสู่ความเป็นเศรษฐกิจสีเขียวคือ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งในเรื่องของการขาดแคลนน้ำ 
และการเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ทั่วโลก  ซึ่งอาจทำให้เกิดการชะลอตัวในการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้
 
การปฏิรูปเชิงสถาบันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปแบบการจัดองค์กร 
การปฏิรูปสถาบันและโครงสร้างต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสิ่งแวดล้อม 
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายของการพัฒนาที่ยั่งยืน
เพื่อการบริหารจัดการอย่างประสิทธิภาพมากขึ้น 
โดยการออกเป็นนโยบายหรือมาตรการต่างๆ

ในที่ประชุม Rio+20 พวกเราต่างพูดกันตลอดในช่วงบ่ายทั้งหมด
เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อดึงมวลชนออกจากความยากจน
แต่สิ่งที่พวกเรากำลังคิดอยู่ เราต้องการรูปแบบการพัฒนา
และการบริโภคแบบประเทศที่ร่ำรวยหรือเปล่า 
 
ผมขอถามคุณในตอนนี้ว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับโลกใบนี้ 
ถ้าคนอินเดียจะมีสัดส่วนการใช้รถยนต์ต่อครัวเรือนเช่นเดียวกันกับคนเยอรมัน  
แล้วจำนวนออกซิเจนในอากาศที่จะเหลืออยู่เท่าไรละ ? 
 
โลกใบนี้ไม่มีทรัพยากรเพียงพอสำหรับคนเจ็ดหรือแปดพันล้านคน 
ที่สามารถบริโภคและสร้างของเสียในระดับเดียวกัน 
อย่างที่เห็นกันอยู่ในสังคมที่ร่ำรวยทุกวันนี้   
มันเป็นระดับของการบริโภคที่มากเกินไป ที่ทำร้ายโลกของเรา “
 
ประธานาธิบดี Mujica หมู่ฮิก๊า โทษผู้นำส่วนมากของโลก 
ที่มัวเมามืดบอดในความคิด ที่จะยกระดับความเจริญก้าวหน้าด้วยการบริโภค  
เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นในทางกลับกัน มันจะหมายถึงจุดจบของโลก
 
 
ถึงอย่างไรก็ตามมีช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างประธานาธิบดีมังสวิรัติ Mujica หมู่ฮิก๊า 
กับบรรดาเหล่าผู้นำคนอื่น ๆ เพราะเขามีภูมิคุ้มกันชีวิตทางการเมืองมากกว่า 
นักการเมืองคนอื่น ๆ มักจะมีชีวิตทางการเมืองที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ (มีขึ้นมีลงสลับกันไป)
" มีหลายคนรู้สึกเห็นอกเห็นใจเป็นอย่างมากกับประธานาธิบดี Mujica หมู่ฮิก๊า 
ในการใช้ชีวิตแบบนั้น แต่เรื่องนี้ไม่ได้ทำให้เขาหลุดพ้น
จากการถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องที่รัฐบาลทำอยู่ ” 
เป็นคำพูดของ Ignacio Zuasnabar อีนนากซี ซัวซะบา 
นักหยั่งเสียงทางการเมืองอุรุกวัย 
 
ฝ่ายค้านระบุว่า ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของประเทศที่ผ่านมา 
ไม่ได้ส่งผลดีขึ้นให้กับการบริการสาธารณะทั้งในด้านสุขภาพและการศึกษา 
และนับตั้งแต่ครั้งแรกของเลือกตั้งในปี 2009 
ความนิยมในตัวเขาได้ลดลงต่ำกว่า 50%
 
 
ในปีนี้เขายังโดนโจมตีจากการเคลื่อนไหว
ในเรื่องที่เป็นประเด็นขัดแย้งระดับชาติสองเรื่อง 
คือ รัฐสภาอุรุกกวัยเพิ่งผ่านกฎหมายอนุญาต
การให้ทำแท้งหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่เกินกว่า 12 สัปดาห์  
ซึ่งต่างกับอดีตประธานาธิบดีที่ใช้สิทธิ์ยับยั้ง  
แต่ประธานาธิบดี Mujica หมู่ฮิก๊า ไม่ใช้สิทธิ์ยับยั้งกฎหมายฉบับนี้
 
เขายังสนับสนุนการอภิปรายได้อย่างเสรีให้ถือว่า
การเสพย์กัญชาเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมาย  
และในกฎหมายจะอนุญาตให้รัฐทำหน้าที่ผูกขาดในการค้าขายกัญชาด้วย
"การเสพย์กัญชาไม่ใช่เป็นเรื่องที่ต้องวิตกกังวลอย่างมากที่สุด  
แต่การค้ายาเสพติดคือปัญหาที่แท้จริง" เขาพูดไว้
 
อย่างไรก็ตามเขาไม่จำต้องกังวลอย่างมากเกี่ยวกับคะแนนความนิยมของเขา
เพราะตามกฎหมายอุรุกวัยระบุไว้ว่า 
เขาไม่ได้รับอนุญาตที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2014 
พร้อมกับวัย 77 ปี เขาควรจะถอยห่างออกจากการเมืองโดยสิ้นเชิงก่อนจะอยู่นานเกินไป
เขามีสิทธิ์ได้รับเงินรัฐสวัสดิการของรัฐ  
ซึ่งแตกต่างจากอดีตประธานาธิบดีคนอื่น ๆ 
เขาไม่รู้สึกว่ารายได้ลดลงเป็นอย่างมากจากที่เคยได้รับมา
 

Tupamaros กลุ่มกองโจรติดอาวุธฝ่ายซ้าย

เกิดขึ้นครั้งแรกจากคนงานไร่อ้อยยากจนและนักศึกษา
ตั้งชื่อตามกษัตริย์อินคา  Tupac Amaru ตูปั๊ก อาม๊าหรู่
 
ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือการลักพาตัวทางการเมือง
เอกอัครราชทูตอังกฤษ Geoffrey Jackson เจฟฟรีย์ แจ็คสัน
ถูกจับไปเป็นเวลาแปดเดือนในปี 1971
 
หลังจากปี 1973มีการรัฐประหารโดย
ประธานาธิบดี  Juan Maria  Bordaberry ฮวน มาเรีย บอร์ดาแบรี่
มีการปราบปรามอย่างหนักหน่วง
 
Mujica หมู่ฮิก๊า เป็นหนึ่งในกบฎหลายคนที่ถูกจำคุก
ต้องโทษจำคุก 14 ปีอยู่หลังลูกกรงเหล็ก  
จนกระทั่งมีรัฐบาลตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในปี 1985
 
เขามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงให้
บรรดาอดีตกองโจรติดอาวุธฝ่ายซ้าย ทูปาม๊าโรส Tupamaros 
ให้เป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โดยเข้าร่วมเป็นรัฐบาลผสมกับ Frente Amplio เฟร้นเตรียมพิโอ
 
เรียบเรียงจาก http://www.bbc.co.uk/news/magazine-20243493
 
เสียงภาษาสเปนจาก Google transalate

ข้อมูลทั่วไป
อุรุกวัยเป็นประเทศแรกในละตินอเมริกาที่เป็นรัฐสวัสดิการ
ด้วยการเก็บภาษีที่ค่อนข้างสูงในอุตสาหกรรม
และพัฒนาประเพณีระบบประชาธิปไตย 
ที่สมควรได้รับฉายาว่า "สวิตเซอร์แลนด์ของทวีปอเมริกาใต้"
 
แต่ความวุ่นวายทางการเมืองและเศรษฐกิจ 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโจมตีของกองโจรติดอาวุธฝ่ายซ้ายในเขตเมือง
ในช่วงปี 1970 ทำให้รัฐบาลในช่วงนั้นต้องระงับใช้รัฐธรรมนูญ
และนำไปสู่ช่วงการปกครองของระบบทหารปกครองจนกระทั่งถึงปี 1985  
อุรุกวัยยังต้องดิ้นต่อสู้กับมรดกตกทอดทางการเมืองของระบบทหารในหลายปีที่ผ่านมา
 
การเมือง: รัฐบาลผสม Frente Amplio ก้าวสู่การมามีอำนาจในปี 2004 
ชนะการเลือกตั้งและได้รับเลือกตั้งอีกในครั้งที่สองในปี 2009
 
เศรษฐกิจ: อุรุกวัยฟื้นตัวจากเศรษฐกิจจากผลการเปลี่ยนแปลงในปี 2002  
ในขณะที่เศรษฐกิจในบราซิลกับอาร์เจนตินา อยู่ในภาวะถดถอย
 
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ :  ความสัมพันธ์กับอาร์เจนตินา
มีความตึงเครึยดทางการเมืองเพราะการสร้างโรงงานผลิตเยื่อกระดาษในอุรุกวัย 
บนฝั่งของแม่น้ำกั้นเขตแดนของทั้งสองประเทศ 
อาร์เจนตินาอ้างว่าจะสร้างมลภาวะทางน้ำและอากาศ
 
 
เทศกาลคานิวาล ที่เืมืองหลวง Motevideo เป็นงานประเพณีวัฒนธรรมประจำปี
 
ตั้งแต่การบูรณาการโดยรัฐบาลในระบบประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง 
ระบบเศรษฐกิจเสรีที่ประสบความสำเร็จโดยรัฐบาล   
เขตเมืองที่เคยปกครองโดยเจ้าอาณานิคม 
บ้านพักตากอากาศตามชายหาด 
และอากาศที่หนาวเย็นตลอดทั้งปี
ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเจริญเติบโต 
และเศรษฐกิจได้รับประโยชน์จากระบบเงินตราของธนาคารต่างชาติ
 
แต่ผลของการพึ่งพาการส่งออกปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ท
ำให้การส่งออกของอุรุกวัย เสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง
จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก 
การถดถอยทางเศรษฐกิจของบราซิลและอาร์เจนตินา  
ที่มีตลาดส่งออกหลักและรายได้หลักที่มาจากนักท่องเที่ยว  
ทำให้ประเทศเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2002
 
 
เขตบ้านเก่าแก่สมัยอาณานิคมที่ Colonia del Sacramento 
ได้รับการอนุรักษ์เป็นมรดกโลก
 
ผลของการจ่ายคืนเงินกู้ยืมจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) 
และผลการปรับโครงสร้างของหนี้ต่างประเทศ
ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างเปราะบาง
แต่ผลของภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย 
มีผลทำให้ชาว Uruguayans หลายคน
ตกอยู่ในภาวะความยากจน
และทำให้คนหนุ่มสาวหลายพันคนอพยพไปทำงานที่ประเทศอื่น
 
ชาว Uruguayans จำนวนมากมีบรรพบุรุษมาจากยุโรป
ส่วนใหญ่เป็นชาวสเปนและชาวอิตาเลียน  
เป็นประเทศที่มีคนชั้นกลางจำนวนมากและมีขนาดใหญ่ 
และคนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกจริงจังต่อความไม่เสมอภาคทางด้านรายได้ 
แต่ชนกลุ่มน้อยที่มีเชื้อสายแอฟริกันพื้นเมือง 
หรือชาวยุโรปผสมกับชนพื้นเมือง 
อยู่ในกลุ่มผู้คนที่ยากจนที่สุดของประเทศที่เริ่มมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
 
ในศตวรรษที่ 19  หลังจากอุรกวัยได้รับเอกราชและเป็นอิสระ 
ตามมาด้วยความขัดแย้งที่ยืดเยื้อและสร้างความหายนะ
ระหว่างสมัครพรรคพวกทางการเมืองสองฝ่ายคือ  
Blancos เจ้าของที่ดิน (คนผิวขาว)
และ Colorados ชาวเมือง(สีแดง)

ข้อมูลสรุป
สาธารณรัฐบูรพาอุรุกวัย
ประชากร: 3.4 ล้าน (UN, 2011)
 เมืองหลวง: มอนเตวิเด Montevideo
 พื้นที่: 176,215 ตารางกิโลเมตร (68,037 ตารางไมล์)
 ภาษาหลัก: สเปน
 ศาสนาที่สำคัญ: ศาสนาคริสต์
 อายุประชาการเฉลี่ย: 74 ปี (ผู้ชาย), 81 ปี (หญิง) (UN)
 หน่วยเงิน: 1 เปโซอุรุกวัย = 100 centesimos
 สินค้าส่งออกหลัก: เนื้อ, ข้าว, ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง, ยานพาหนะ, ผลิตภัณฑ์นม,  ขนสัตว์, ไฟฟ้า
 GNI ต่อหัว: US $ 11,860 (World Bank, 2011)
 โดเมนอินเทอร์เน็ต: Uy
 รหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศ: 598


ลำดับเหตุการณ์สำคัญ
 
1516 – นักสำรวจชาวสเปน Juan Díaz de Solis ถูกฆ่าตายโดยคนพื้นเมือง
ในขณะที่สำรวจ Rio de la Plata การตายของเขาทำให้การตกเป็นอาณานิคม
ของยุโรปล่าช้าไปอีกนานกว่า 100 ปี
1726 – ชาวสเปนพบเมือง Montevideo และมีชัยเหนืออุรุกวัยที่ปกครองโดยโปรตุเกส  
ทำให้คนพื้นเมืองหลายคนถูกฆ่า
1776 – อุรุกวัยกลายเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองโดยอุปราช  La Plata 
ที่มีเมืองหลวงอยู่ที่บัวโนสไอเรส Buenos Aires
1808 - อุรุกวัยก่อการกบฏกับอุปราช La Plata 
ตามด้วยการล้มล้าง/บดขยี้ระบอบกษัตริย์สเปนโดย นโปเลียนโบนาปาร์ (จักรพรรดิ์นโปเลียนของฝรั่งเศส)
1812-1820 – คนตะวันออก Orientales หรือชาว Uruguayans 
จากฝั่งตะวันออกของแม่น้ำพลาตา  การต่อสู้กับผู้รุกรานชาวอาร์เจนตินาและชาวบราซิล
 

อุรุกวัยได้แชมป์ฟุตบอลโลกด้วยการชนะประเทศเื่พื่อนบ้านอาร์เจนตินา
ด้วยผลคะแนน 4-2 ในรอบชิงชนะเลิศปี 1930
Uruguay won the first ever football World Cup,
beating neighbours Argentina  4-2 in the 1930 final

เอกราชและสงคราม
 
1828 - บราซิลและอาร์เจนตินายอมสละสิทธิเหนือดินแดนซึ่งกลายเป็นสาธารณรัฐบูรพาอุรุกวัย
1830 - ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
1838-1865 - สงครามกลางเมืองระหว่าง Blancos หรือพวกขาว(พรรคอนุรักษ์นิยมในเวลาต่อมา)
และ Colorados หรือพวกแดง (พรรคเสรีนิยมในเวลาต่อมา)
1865-1870 - อุรุกวัยร่วมมืออาร์เจนตินาและบราซิลในการทำสงครามที่มีชัยชนะเหนือปารากวัย
1903-1915 – นักปฏิรูป José Batlle y Ordonez (พรรค Colorados) 
ออกกฎหมายให้ผู้หญิงได้รับสิทธิพิเศษทางการเมืองและประกาศเป็นรัฐสวัสดิการ 
ยกเลิกอำนาจศาสนาจักรและยกเลิกโทษประหารชีวิต ในช่วงสองสมัยที่ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี
1933 - กลุ่มฝ่ายค้านถูกห้ามดำเนินทางการเมืองผลจากการรัฐประหารของทหาร
1939-1945 - สงครามโลกครั้งที่ 2 อุรุกวัยวางตัวเป็นกลางในช่วงต้น ๆ ของสงครามเป็นส่วนมาก
แต่ต่อมาเข้าร่วมกับพันธมิตร
1951 – ประธานาธิบดีถูกทำหน้าที่แทนด้วยคณะกรรมาธิการจำนวนเก้านาย ผลจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่


เมืองหลวงที่มีสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม หาดทรายและท่าเรือที่คับคั่ง
The capital boasts colonial architecture, sandy beaches and a busy port

เผด็จการ สงครามกองโจร และการหวนกลับคืนสู่ระบบประชาธิปไตย
 
1962 - โฆษณาชวนเชื่อของกองโจรติดอาวุธฝ่ายซ้าย Tupamaros  เริ่มต้นและสิ้นสุดในปี 1973
1971 – เอกอัครราชทูตอังกฤษในอุรุกวัย  เจฟฟรีย์ แจ็คสัน Geoffrey Jackson 
ถูกลักพาตัวไปโดยกองโจรติดอาวุธฝ่ายซ้าย Tupamaros 
และถูกปล่อยตัวเป็นอิสระในเวลาแปดเดือนต่อมา 
เขาเป็นอิสระหลังจากการแหกคุกครั้งใหญ่ที่นำโดยนักโทษ Tupamaros  
แต่เจ้าหน้าที่รัฐปฏิเสธในเรื่องนี้ว่าไม่เกี่ยวกับการแลกกับการปล่อยตัวประกัน
1972 – มีผู้รอดชีวิตจำนวนสิบหกคน จากเครื่องบินอุรุกวัยตกในเทือกเขา Andes 
พวกเขามีชีวิตอยู่ด้วยการกินเนื้อของผู้โดยสารที่เสียชีวิต  ผู้รอดชีวิตส่วนใหญ่
เป็นสมาชิกองทีมรักบี้อุรุกวัยรักบี้ หลังจากที่ติดอยู่บนเขาเป็นเวลา 10 สัปดาห์
1973 - กองทัพยึดอำนาจและให้สัญญาว่าจะส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ 
แต่นำไปสู่ช่วงการปราบปรามที่รุนแรงทีสุด ในระหว่างช่วงนี้  
อุรุกวัยกลายเป็นที่ รู้จักในฐานะประเทศที่มีชื่อว่า   "ห้องทรมานจากละตินอเมริกา" 
และมียอดนักโทษการเมืองสะสมมากที่สุด ถ้านับต่อหัวกับประเทศอื่น ๆ ในโลก
1984 – มีการประท้วงอย่างรุนแรงต่อต้านการปราบปราม 
และไม่พอใจกับสภาพเศรษฐกิจที่เลวร้ายมากขึ้น
1985 – กองทัพและผู้นำทางการเมืองเห็นพ้องต้องกันว่า
รัฐบาลควรกลับไปสู่การปกครองตามรัฐธรรมนูญ และเริ่มปล่อยตัวนักโทษการเมือง 
มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับทหาร/สมาชิกกองกำลังติดอาวุธ
ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน  ในช่วงการปกครองของระบอบ
เผด็จการทหารที่มีประธานาธิบดีชื่อ อูลี มารี แซงกียแนตตี Julio Maria Sanguinetti
1989 - มีการลงประชามติรับรองการนิรโทษกรรมสำหรับการกระทำความผิดโดยไม่ชอบต่อสิทธิมนุษยชน 
และ ลากาเย เรลา Lacalle Herrera ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
1994 - Julio Maria Sanguinetti ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
1999 - โฮเซ่ว่าเกส Jorger Batlle ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
2000 - คณะกรรมการเริ่มต้นสืบสวนชะตากรรมของคนจำนวน 160 คน
ที่สูญหายไปในระหว่างช่วงปีที่ปกครองโดยเผด็จการทหาร
2002 เมษายน – อุรุกวัยยุติความสัมพันธ์ทางการทูตกับคิวบา 
หลังจากคิวบากล่าวหาว่าเป็นสุนัขรับใช้สหรัฐ ในการให้การสนับสนุนมติสหประชาชาติ 
ที่เรียกกันว่า  ฮาวานา  Havana ในการปฏิรูปการใช้สิทธิมนุษยชน

วิกฤตการณ์ทางการเงิน
 
2002 พฤษภาคม - มาตรการฉุกเฉิน ได้แก่ การเพิ่มภาษี ที่ประกาศโดยประธานาธิบดี Batlle 
ในความพยายามที่จะป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินจากที่ลุกลามข้ามพรมแดน
2002 สิงหาคม – รัฐบาลสั่งให้ธนาคารปิดทำการให้บริการเกือบหนึ่งสัปดาห์ 
เพื่อจะหยุดยั้งการถอนเงินฝากสะสมของประชาชน มีการประท้วงเกิดขึ้นทั่วไป
กับการเกิดขึ้นของภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ
2003 เมษายน - ธนาคารโลกอนุมัติเงินกู้มีมูลค่ามากกว่า $ 250m (7,500,000,000.-บาท
2003 ธันวาคม - มีการลงประชามติปฏิเสธแผนการที่จะเปิดประเทศจากการผูกขาดน้ำมันของรัฐ
เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนได้
2004 พฤษภาคม – วุฒิสภาไม่รับรองกฎหมายที่ให้มีการทำแท้งได้

โรงงานผลิตเยื่อกระดาษที่เป็นปัญหาข้อพิพาทกับอาร์เจนตินา

การเมืองเปลี่ยนขั้วเป็นพรรคฝ่ายซ้าย
 
2004 พฤศจิกายน - พรรคฝ่ายซ้าย Tabare Vazquez  ชนะการเลือกตั้ง
ได้เป็นประธานาธิบดีทำให้การเมืองเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
2005 มีนาคม - ประธานาธิบดี Vazquez  ให้คำมั่นสัญญาว่าภายในไม่กี่ชั่วโมง 
เขาจะเริ่มคืนดีในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับคิวบา และได้ลงนามข้อตกลง
ทางด้านพลังงานกับเวเนซุเอลา พร้อมประกาศประชานิยมรัฐสวัสดิการ
เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาความยากจน
2005 ธันวาคม – ผู้เชี่ยวชาญนิติวิทยาศาสตร์พบซากศพมนุษย์ 
ที่คาดว่าเป็นเหยื่อของการปกครองโดยเผด็จการทหาร 
ประธานาธิบดี Vazquez สั่งการให้ค้นหาข้อเท็จจริงโดยเร็วหลังจากที่เริ่มทำงาน
2006 กรกฎาคม - ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศปฏิเสธคำร้องของประเทศอาร์เจนตินา
ที่ให้ระงับการก่อสร้างโรงงานผลิตเยื่อกระดาษทั้งสองแห่งของอุรุกวัย  
ขณะที่อุรุกวัยปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่าโรงงานจะก่อให้เกิดมลภาวะในเขตพื้นที่ชายแดน
2006 พฤศจิกายน – อดีตประธานาธิบดีที่เคยเป็นเผด็จการและกลับมาสู่ระบบการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย
Julio Maria Bordaberry และอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ
ในยุคของเขาถูกจับกุมในข้อห้าร่วมกันฆ่าคู่แข่งทางการเมืองจำนวนสี่นายในปี 1976
2006 ธันวาคม – อุรุกวัยจ่ายคืนหนี้จำนวนพันล้านดอลลาร์ ที่กู้ยืมมาจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
2007 พฤษภาคม – รัฐสภาของประเทศในกลุ่มตินอเมริกา ประกาศการเข้าร่วมมือกันทางการค้า
แบบกลุ่มความร่วมมือกัน  Mercosur  โดยมีสถานที่ตั้งในเมืองหลวงมอนเตวิเด
2007 กันยายน - ชาว Argentineans หลายร้อยคน ข้ามเข้าไปในเขตแดนประเทศอุรุกวัย
เพื่อประท้วงโรงงานผลิตเยื่อกระดาษกระดาษ ซึ่ง ประเทศอาร์เจนตินาและนักวิชาการสิ่งแวดล้อม 
กล่าวหาว่าทำให้แม่น้ำเป็นมลพิษ
2008 มิถุนายน – ประธานาธิบดีวาสเกซ ประกาศการค้นพบสิ่งที่อาจเป็นหลุมก๊าซธรรมชาติ
ขนาดใหญ่ออกของอุรุกวัยนอกชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก


ผู้นำกองทัพในช่วงปี 1970 Julio Maria Bordaberry

อดีตเผด็จการถูกตัดสินจำคุก
 
2009 ตุลาคม - ศาลฎีกาชี้ขาดว่าว่ากฎหมายป้องกันเจ้าหน้าที่รัฐบาลทหาร
พ้นจากการถูกดำเนินคดีในการละเมิดสิทธิมนุษยชน  ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ
อดีตนายทัพทหาร Gregorio Alvarez ถูกตัดสินจำคุก 25 ปี
ในข้อหาฆาตกรรมและละเมิดสิทธิมนุษยชน
กลุ่มพันธมิตร Frente Amplio ชนะการเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภา
2009 พฤศจิกายน – อดีตกบฎฝ่ายซ้ายกบฎหันหน้ามาร่วมมือกันกับ Frente Amplio 
ทำให้ Jose Mujica โฮเซ่ หมู่ฮิก่า ผู้บริหารของ Frente Amplio 
ชนะการเลือกตั้งได้รับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี
2010 กุมภาพันธ์ – อดีตประธานาธิบดี Julio Maria Bordaberry  
ถูกตัดสินจำคุก 30 ปีในข้อหาฆาตกรรมและการละเมิดรัฐธรรมนูญ ในการทำรัฐประหาร ปี 1973 
แต่เพราะอายุที่มากของเขา  ทำให้เขาต้องโทษจำคุกภายในบ้านพักของตนเองและเสียชีวิตในปี 2011
2010 มีนาคม - Jose Mujica หมู่ฮิก๊า รับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี
2011 ตุลาคม - รัฐสภาลงมติยกเลิกกฎหมายนิรโทษกรรมที่ป้องกันทหารจากการถูกดำเนิน 
คดีการก่ออาชญากรรมภายใต้การปกครองของเผด็จการทหารใน 1975-1983
2012 กรกฎาคม - รัฐบาลเริ่มทำการศึกษาเรื่องกัญชาไม่ใช่สิ่งที่ผิดกฎหมาย
2012 ตุลาคม – อุรุกวัยจะกลายเป็นประเทศแรกในละตินอเมริกาหลังจากประเทศคิวบา
ที่อนุญาตให้เป็นเรื่องถูกต้องตามกฎหมายในการทำแท้งสำหรับผู้หญิงทุกคน 
วุฒิสภาลงมติให้จำกัดเพียงภายใน 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
 
 http://www.oknation.net/blog/ravio/2012/11/18/entry-1

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก